We have no responsibility for the contents in this web community!

ถ้าเข้ามาแล้วพบว่ากระทู้ไม่เรียงตามวัน/เวลา ให้คลิ๊กตรงคำว่า Date/Time ที่อยู่ตรงแถบสีม่วงๆ นะครับ


ห้ามลงประกาศโฆษณา หรือโปรโมทในเชิงธุรกิจใดๆ ทุกชนิด ยกเว้นสปอนเซ่อร์!!!!!

*** ห้ามใช้เนื้อที่บอร์ดเพื่อแอบแฝงขายบริการทางเพศ ***

RBR Section


Register
สมัครสมาชิก


What's RBR?
ต่ออายุสมาชิก

**** ส่วนบริการเข้าบอร์ดลับเฉพาะสำหรับสมาชิก RBR (บอร์ดรูป Devil), (บอร์ดวีดีโอ Zombie) ต้องการติดต่อสอบถาม ส่งเมลล์ที่ ryubedroom@yahoo.com เท่านั้น ****

กรุณาคลิ๊กที่นี่และ Bookmark ไว้ด้วยครับ

Palm-Plaza.com

Subject: "การขอตำแหน่งทางวิชาการ ของ ไทยกับ ของเมืองนอก ต่างกันไหมคะ" Archived thread - Read only
 
  Previous Topic | Next Topic
Printer-friendly copy     Email this topic to a friend    
Conferences ThE LoveR Topic #212061
Reading Topic #212061
Mr Bean click here to view user rating
Member since 30-Jul-17
736 posts, 6 feedbacks, 12 points

"การขอตำแหน่งทางวิชาการ ของ ไทยกับ ของเมืองนอก ต่างกันไหมคะ"
 
25-Mar-19, 09:38 PM (SE Asia Standard Time)
Click to EMail Mr%20Bean Click to send private message to Mr%20Bean Click to view user profileClick to add this user to your buddy list  

คือความรู้สึกส่วนตัว เห็นเพื่อนๆ ที่เป็น อ. มหาวิทยาลัย เริ่มทยอยขอ ตำแหน่งทางวิชาการกันแล้ว

บางคนตอนเรียน หัวก็ปานกลาง

ดีว่าจบมา ได้ อ. ดันให้เป็น อาจารย์ งานวิจัยตอนเป็น อ. ก็งันๆ ความคิดเห็นส่วนตัวนะคะ

เลยสงสัยว่าการขอ ผศ รศ ศ ของไทยนี้มันของ่าย หรือขอยาก ขนาดไหนคะ

เพื่อนบางคนที่ได้ ผศ ไปแล้ว งานตีพิมพ์ วารสาร เมืองนอกแทบไม่มี เรียกว่าไม่มีเลยดีกว่า

ส่วนใหญ่เห็นตีพิมพ์กับ วารสารวิจัย ของ ม. ต่างๆนะคะ

เลยสงสัยว่า การขอ ตำแหน่งทางวิชาการ จริงๆแล้วมันยากง่ายขนาดไหนคะ

แล้วการขอตำแหน่งทางวิชาการ ของไทย กับ เมืองนอก นี้มีกฏเกรณ์เดียวกันไหมคะ


*******************



 
|
| boyplaza.net Gay Movies หนังใหม่อัพเดททุกวัน เริ่มต้น 50 บาทเท่านั้น โหลดได้ไม่จำกัด 3 วัน
Printer-friendly page | Top

การขอตำแหน่งทางวิชาการ ของ ไทยกับ ของเมืองนอก ต่างกันไหมคะ [View All], Mr Bean, 09:38 PM, 25-Mar-19, (0)  

Conferences | Topics | Previous Topic | Next Topic
chandelier click here to view user rating
Member since 15-Jul-18
1632 posts, 2 feedbacks, 4 points

1. "RE: การขอตำแหน่งทางวิชาการ ของ ไทยกับ ของเมืองนอก ต่างกันไหมคะ"
In response to message #0
 
25-Mar-19, 10:12 PM (SE Asia Standard Time)
Click to EMail chandelier Click to send private message to chandelier Click to view user profileClick to add this user to your buddy list  
   ดิฉันก๊อปโลกสวยมาค่ะ

มันมาจากระบบต่างประเทศ แล้วเรามาแปลเป็นไทยเป็นคำเหล่านั้น ที่ต่างประเทศบรรดาอาจารย์ในแต่ละสาขาวิชาเฉพาะของตัวเองจะมีตำแหน่ง "ศาสตราจารย์" ซึ่งเหมือนเป็นหัวหน้าของแต่ละห้องปฏิบัติการต่าง ๆ รับลูกศิษย์และมีหน้าที่สอนและทำวิจัย ซึ่งศาสตราจารย์เหล่านี้สามารถรับผู้ช่วยเข้ามาทำงานกับตนได้ เลยมีตำแหน่ง "รองศาสตราจารย์" เหมือนเป็นตำแหน่งมือขวา และตำแหน่ง "ผู้ช่วยศาสตราจารย์" เหมือนเป็นตำแหน่งมือซ้าย พอไทยเราเอามาใช้ก็แปลเป็นไทยตรงตัว ที่ต่างประเทศตำแหน่งศาสตราจารย์จะมีจำกัด เช่น ห้องปฏิบัติการหนึ่ง ๆ จะมีศาสตราจารย์เพียงคนเดียว นอกนั้นอาจจะเป็นรองศาสตราจารย์หรือผู้ช่วยศาสตราจารย์ แล้วพอศาสตราจารย์เกษียณออกไป รองศาสตราจารย์จะเลื่อนขึ้นมาแทนที่ และมีการรับผู้ช่วยศาสตราจารย์คนใหม่เข้ามา เท่าที่เคยถาม ตำแหน่งศาสตราจารย์นั้นไม่ใช่แค่ว่าพอคนเก่าออก คนที่เป็นรศ.จะได้ขึ้นเป็นศ.แทนทันที เพราะถ้าผลงานไม่เข้าเงื่อนไข จะมีการรับรศ.จากที่อื่นเข้ามารับตำแหน่งแทนได้ ผมเคยถามอาจารย์ของผมเองว่าเงื่อนไขที่แกจะขึ้นเป็นศ.ได้ต้องทำยังไง แกบอกว่าต้องตีพิมพ์วารสารนานาชาติได้ 15 ฉบับในรอบ 5 ปี และต้องผ่านการสอบสัมภาษณ์โดยคณะกรรมพิจารณาคุณสมบัติด้วย

ส่วนของไทย เรารับแค่ชื่อตำแหน่งมา แต่ระบบการแต่งตั้งตำแหน่งเป็นอีกแบบ เมื่อเข้าเป็นอาจารย์ในมหาวิทยาลัยไทย ตำแหน่งแรกที่จะได้คือ "อาจารย์" และจะมีเงื่อนไขกำหนดหลักการขอตำแหน่ง ผศ.ของแต่ละมหาวิทยาลัยออกมา โดยคร่าว ๆ มักจะกำหนดว่าต้องมีผลงานตีพิมพ์หรือผลงานการเขียนเอกสารประกอบการสอบ รวมเครดิตได้ 100% เช่น ถ้าตีพิมพ์ผลงานวิชาการมีคนทำร่วมกัน 4 คน ต้องให้ทุกคนยินยอมเซ็นต์รับรองว่าผลงานนั้นเรามีส่วนกี่ % เช่น ชื่อแรกอาจจะทำ 50% ชื่อต่อมา 20%, 20%, และ 10% อะไรก็ว่ากันไป ผลงานแต่งตำราก็เช่นกัน ถ้าแต่งคนเดียวก็นับเลย 100% นี่คือการขอตำแหน่งผศ. ส่วนรศ.ก็จะมีกำหนดเพิ่มเงื่อนไขเข้าไปอีกว่าไอ้ทั้งผลงานและตำราต้องเป็นงานคุณภาพแค่ไหน และศ.ก็จะยิ่งยากเข้าไปอีก ดังนั้นในประเทศไทยจึงหาศ.ค่อนข้างยากหน่อย เพราะต้องทำผลงานให้เป็นที่ยอมรับระดับนานาชาติ

ขอ ผศ.นั้นอาจจะง่ายสุด ในสายวิทยาศาสตร์ที่ตีพิมพ์กันยากเย็นนั้นมักจะขอระดับนี้ได้ แต่จะไปตันที่ระดับต่อไป เพราะผลงานอาจารย์ในประเทศไทย หลาย ๆ งานวิจัยมันตีพิมพ์ระดับนานาชาติได้ยาก เพราะถ้าหากทำงานวิจัยเหลาย ๆ อย่างเพื่อพัฒนาชุมชน มันจะไม่ค่อยมีอิมแพ็คพอที่จะตีพิมพ์ระดับนานาชาติได้ ดังนั้นส่วนใหญ่อาจารย์ที่อยากก้าวหน้าในสายวิทยาศาสตร์จะเน้นไปโคงานกับต่างประเทศ เพื่อยกระดับงานวิจัยซึ่งจะทำให้ตีพิมพ์ง่ายขึ้น


  Printer-friendly page | Top
Mr Bean click here to view user rating
Member since 30-Jul-17
736 posts, 6 feedbacks, 12 points

2. "RE: การขอตำแหน่งทางวิชาการ ของ ไทยกับ ของเมืองนอก ต่างกันไหมคะ"
In response to message #1
 
25-Mar-19, 10:25 PM (SE Asia Standard Time)
Click to EMail Mr%20Bean Click to send private message to Mr%20Bean Click to view user profileClick to add this user to your buddy list  

ขอบคุณรี 1 นะคะ มิน่า เพื่อนฉันส่วนใหญ่ ขอ ผศ กันได้ไม่ยาก งานวิจัยก็ธรรมดา ภาษาก็ไม่คอยได้ ตีพิมพ์แต่ใน วารสาร ของ ม. ต่างๆแค่นั้น

เออ เห็นว่าคนจะได้ ศ นี้ต้องมีการโปรดเกล้าด้วยนีคะ ใช่ปะ ส่วน ผศ รศ ม.สามารถให้กันเองได้ ถ้าผลงานตรงตามเกรณ์ อันนี้คือที่เคยได้ยินมานะคะ

ศ นี้เเหมือนบอกว่า ผลงานต้องดีมากๆ แล้วต้องมีการโปรดเกล้าด้วยถึงจะได้

อ. สมัยที่ฉันเรียน บางคนไปตัน รศ นานมาก บางคน เกษียณแล้วยังไม่ได้ ศ เลยคือไปจบกันแค่ รศ


*******************



  boyplaza.net Gay Movies หนังใหม่อัพเดททุกวัน เริ่มต้น 50 บาทเท่านั้น โหลดได้ไม่จำกัด 3 วัน Printer-friendly page | Top
Sword & Shield
Guest

3. "RE: การขอตำแหน่งทางวิชาการ ของ ไทยกับ ของเมืองนอก ต่างกันไหมคะ"
In response to message #2
 
26-Mar-19, 03:55 AM (SE Asia Standard Time)
 
   ผมขอตอบเท่าที่ผมรู้นะครับ
ผมเรียนโทที่อเมริกา อาจารย์มหาลัยที่โน่นมี 2 ประเภท คือ tenure track กับ adjunct
อาจารย์ที่เป็น adjunct จะต่อสัญญาปีต่อปี หรือสัญญายาวกว่านี้ก็แล้วแต่มหาลัย และไม่มีตำแหน่งทางวิชาการ
ส่วนอาจารย์ tenure track เข้ามาปุ๊บก็ได้เป็น assistant professor ทันที
ภายใน 7 ปี ถ้าไม่มีผลงานมากพอที่จะเลื่อนเป็น associate professor ก็ต้องออกไปครับ ถ้าใครได้ assoc. prof. ก็คือได้ tenure มหาลัยจะมาให้ออกง่ายๆ ตามอำเภอใจไม่ได้ ต้องผิดร้ายแรงตามเงื่อนไขของมหาลัยถึงจะไล่ออกได้
การจะขึ้นเป็น associate professor เกณฑ์หลักๆ ก็คือต้องเขียนตำรา มีงานตีพิมพ์ในวารสารวิชาการที่ได้รับการยอมรับ อ้อ อาจารย์จะถูกนักศึกษาเขียนประเมินทุกเทอม แต่ผลการประเมินจะมีผลต่อการได้ tenure แค่ไหน อันนี้ผมไม่รู้
เพื่อนผมเรียนโท-เอกสาย STEM พอเรียน coursework จบก็ทำงานวิจัยในแล็บที่อาจารย์ที่ปรึกษาเป็นคนคุม อาจารย์ที่ปรึกษาแต่ละคนรับนักศึกษาเป็น advisees หลายคน เมื่อผลงานวิจัยของ นศ. ได้รับการตีพิมพ์ อาจารย์ที่ปรึกษาก็มีชื่อเป็น co-author ตรงนี้ก็เก็บสะสมเป็นผลงานเวลาจะขอตำแหน่ง แต่น้ำหนักจะน้อยกว่างานที่อาจารย์เป็น lead author
รุ่นพี่ของเพื่อนผมเป็นคนเก่งมาก จบ post doc มีผลงานตีพิมพ์นับสิบชิ้น พอกลับมาเป็นอาจารย์เมืองไทยได้ประมาณ 3 ปี ก็ยื่นขอตำแหน่งทางวิชาการ โดยขอ รศ. เลย แล้วก็ได้เลยครับ
ส่วนเพื่อนผมจบเอกแล้วไปทำงานภาคเอกชน ไม่ได้เป็นอาจารย์


  Printer-friendly page | Top
Specialist in Karee Studies, and Artificial Pussy Surgery & Technology
Guest

4. "RE: การขอตำแหน่งทางวิชาการ ของ ไทยกับ ของเมืองนอก ต่างกันไหมคะ"
In response to message #1
 
26-Mar-19, 04:47 AM (SE Asia Standard Time)
 
   >ดิฉันก๊อปโลกสวยมาค่ะ
>
>มันมาจากระบบต่างประเทศ แล้วเรามาแปลเป็นไทยเป็นคำเหล่านั้น
>ที่ต่างประเทศบรรดาอาจารย์ในแต่ละสาขาวิชาเฉพาะของตัวเองจะมีตำแหน่ง
>"ศาสตราจารย์"
>ซึ่งเหมือนเป็นหัวหน้าของแต่ละห้องปฏิบัติการต่าง ๆ
>รับลูกศิษย์และมีหน้าที่สอนและทำวิจัย
>ซึ่งศาสตราจารย์เหล่านี้สามารถรับผู้ช่วยเข้ามาทำงานกับตนได้
>เลยมีตำแหน่ง "รองศาสตราจารย์" เหมือนเป็นตำแหน่งมือขวา
>และตำแหน่ง "ผู้ช่วยศาสตราจารย์" เหมือนเป็นตำแหน่งมือซ้าย
>พอไทยเราเอามาใช้ก็แปลเป็นไทยตรงตัว
>ที่ต่างประเทศตำแหน่งศาสตราจารย์จะมีจำกัด เช่น
>ห้องปฏิบัติการหนึ่ง ๆ จะมีศาสตราจารย์เพียงคนเดียว
>นอกนั้นอาจจะเป็นรองศาสตราจารย์หรือผู้ช่วยศาสตราจารย์
>แล้วพอศาสตราจารย์เกษียณออกไป
>รองศาสตราจารย์จะเลื่อนขึ้นมาแทนที่
>และมีการรับผู้ช่วยศาสตราจารย์คนใหม่เข้ามา เท่าที่เคยถาม
>ตำแหน่งศาสตราจารย์นั้นไม่ใช่แค่ว่าพอคนเก่าออก
>คนที่เป็นรศ.จะได้ขึ้นเป็นศ.แทนทันที
>เพราะถ้าผลงานไม่เข้าเงื่อนไข
>จะมีการรับรศ.จากที่อื่นเข้ามารับตำแหน่งแทนได้
>ผมเคยถามอาจารย์ของผมเองว่าเงื่อนไขที่แกจะขึ้นเป็นศ.ได้ต้องทำยังไง
>แกบอกว่าต้องตีพิมพ์วารสารนานาชาติได้ 15 ฉบับในรอบ 5 ปี
>และต้องผ่านการสอบสัมภาษณ์โดยคณะกรรมพิจารณาคุณสมบัติด้วย
>
>

ข้อความข้างต้นนี้ เป็นระบบ ศาสตราจารย์ของญี่ปุ่น ไม่ใช่กับทุกประเทศ ในอังกฤษ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ อเมริกา ไม่ได้ใช้ระบบนี้

แสดงว่าคน comments ในเว็บพันทิปคนนี้ก็ไม่ได้รู้จริงแน่นอน


  boyplaza.net Gay Movies หนังใหม่อัพเดททุกวัน เริ่มต้น 50 บาทเท่านั้น โหลดได้ไม่จำกัด 3 วัน Printer-friendly page | Top
Specialist in Karee Studies, and Artificial Pussy Surgery & Technology
Guest

5. "RE: การขอตำแหน่งทางวิชาการ ของ ไทยกับ ของเมืองนอก ต่างกันไหมคะ"
In response to message #4
 
26-Mar-19, 05:16 AM (SE Asia Standard Time)
 
   การขอตำแหน่งวิชาการ ของ ม.ราชภัฎ ม.ราชมงคล ได้ง่ายกว่าของ ม.ใหญ่ นี่คือข้อเท็จจริงในบริบทมหาวิทยาลัยไทย

แม้ทุกมหาวิทยาลัยจะสังกัด สกอ. กระทรวงศึกษาธิการ เหมือนกัน แต่คนพิจารณาให้คนละชุดและต่างกันตรงคุณภาพงาน เพราะแต่เดิม ราชภัฎ สังกัดกระทรวงศึกษา

แต่มหาวิทยาลัยรัฐหลัก สังกัดทบวงศึกษา จึงทำให้เกณฑ์และธรรมเนียมใช้จริงๆ มันต่างกัน

ตอนหลังมาปรับให้ใช้เกณฑ์เดียวกัน สังกัด สกอ. เหมือนกัน มี กพอ. เป็นระเบียบให้ยึดเป็นกรอบ

แต่วัฒนธรรมการประเมินของผู้ทรงคุณวฒิของ ม.ราชภัฎ ม.ราชมงคล และ ม.รัฐ หลักก็ต่างกัน

เอาเฉพาะใน ม.รัฐ หลักด้วยกัน ม.นเรศวร ม.บูรพา ม.มหาสารคาม ม.พะเยา ม.วลัยลักษณ์ ม.ใหม่ๆ พวกนี้ก็ขอตำแหน่งวิชาการง่ายกว่า ม.รัฐ หลักดั้งเดิม

เพราะเขาจะส่งไปให้ ม.ในลีคเดียวกันอ่านให้ น้อยมากจะส่งเข้าไปให้อาจารย์ที่สังกัด จุฬาฯ มหิดล ธรรมศาสตร์ ประเมินให้ มากสุดอาจจะส่งไป ขอนแก่น เชียงใหม่ สงขลา


ในขณะที่พวก ม.รัฐหลัก ที่มักติด QS / THE ranking เขาจะส่งไปให้ผู้ทรงคุณวุฒิที่สังกัดในมหาวิทยาลัยที่อยู่ในลีคเดียวกัน คล้ายๆ ไม่ส่งไปต่ำกว่าลีคตัวเอง

ถ้าเปรียบเสมือนฟุตบอล ก็คือ ม.รัฐ หลักใช้ผู้ทรงคุณวุฒิจาก พรีเมียร์ลีค หรือ Divison 1 เท่านั้น

ส่วน ม.รัฐ รองๆ ก็ใช้ Division 2 ด้วยกัน มาประเมินตำแหน่งวิชาการให้กัน พอผ่านก็ค่อยเสนอไปที่สภาวิทยาลัยให้รับรอง

สมัยก่อนก็จะส่งไปแต่งตั้งผ่าน สกอ. มีหลายขึ้นตอน ตอนหลังลดความยุ่งยากลง แต่ก็กลายเป็นว่าผ่านง่ายขึ้นเยอะ


ส่วน ม.ราชภัฎ ราชมงคล เขาก็จะใช้ ลีคเดียวกับเขาเอง คือส่งให้ ม.ราชภัฎด้วยกันอ่าน หรือ ม.ราชมงคล อ่าน ก็นานๆ ส่งมาให้ ม.รัฐ หลักๆ อ่านให้

การขอ ผศ. เป็นด่านแรก ทั้ง ม.รัฐหลัก ม.รัฐรอง และ ม.ราชภัฎ ราชมงคล ก็ใช้เกณฑ์คล้ายๆ กันคือ ใช้บทความ หรือ งานวิจัย อย่างน้อย 1 - 2 เรื่อง

ขึ้นอยู่กับสาขาวิชา และอาจจะใช้หนังสือด้วย ถ้ามีหนังสือก็ใช้งานวิจัย 1 เรื่องได้ แต่ถ้าไม่มีหนังสือก็ใช้บทความวิชาการ + งานวิจัย อย่างละเรื่อง

ถ้าไม่มีหนังสือ ไม่มีบทความวิชาการ ก็ใช้งานวิจัย 2 เรื่อง หลังๆ จะเน้นไปงานวิจัยมากกว่า เพราะเขาอยากส่งเสริมให้ทำวิจัยมากขึ้นและเผยแพร่ลงในวารสารวิชาการ

แม้จะใช้เกณฑ์คล้ายๆ กัน เพราะถูกกำหนดไว้ใน กพอ. ที่ สกอ. ประกาศให้ใช้เป็นมาตรฐานทั้งประเทศ

แต่การได้ ผศ. ของ ม.เล็กๆ รวมถึง ม.ราชภัฎ ราชมงคล จะได้ง่ายกว่า ม.รัฐ หลักๆ เพราะผู้ทรงคุณวุฒิเขาสังกัดอยู่ในลีคเดียวกัน ไม่ค่อยแข็งเท่าไหร่

งานวิจัยที่ใช้อาจจะเผยแพร่แค่ในวารสารราชภัฎ วารสารราชมงคล วารสารมหาวิทยาลัยของไทยทั่วๆ ไปก็ได้ วารสาร TCI กลุ่ม 2 ก็ยังผ่านเลย

ส่วน ม.รัฐ ใหญ่ๆ จุฬา ธรรมศาสตร์ มหิดล เกษตร เชียงใหม่ ลาดกระบัง บางมด ขอนแก่น ม.รัฐ ลีคประมาณนี้ จะขอยากกว่า

เพราะมักต้องใช้งานวิจัยตีพิมพ์ 2 เรื่อง หรือบทความวิชาการ 1 เรื่อง + งานวิจัย 1 เรื่อง ที่ต้องตีพิมพ์ในวารสารไทยที่ สกอ.ยอมรับ ใน TCI กลุ่ม 1

แต่บางที่อาจจะแข็งและหิน จะต้องใช้ตีพิมพ์ในวารสารนานาชาติไปเลย ที่อยู่ในฐาน SCOPUS และ/หรือ ISI ไปเลย ถึงจะผ่าน

หากใช้งานคล้ายๆ กับทาง อ.ราชภัฎ ส่งขอ ส่วนใหญ่ไม่ค่อยผ่านนะ เพราะ ม.ใหญ่ เขาเข้มข้นในการประเมินมากกว่า

ส่วนในระดับ รศ. พวก ม.ราชภัฎ ราชมงคล ก็ของ่ายกว่า ม.รัฐหลักๆ ที่เอ่ยชื่อข้างบน

ใน ม.ราชภัฎ และราชมงคล ตำแหน่ง รศ. อาจจะใช้เพียงตำรา/หนังสือ 1 เล่ม + งานวิจัยในไทย 2 เรื่อง ในวารสารของไทย TCI กลุ่ม 1 ก็อาจจะขอผ่านแล้ว

แต่ใน ม.รัฐ หลักๆ ไม่มีทางได้เลย ต่อให้ใช้ 3-5 เรื่อง แต่ถ้าลงแค่ในวารสารไทย TCI กลุ่ม 1 ก็ไม่มีทางผ่าน เพราะในลีค ม.รัฐ ใหญ่ เขาเข้มข้นมาก

ต้องใช้งานตีพิมพ์ในวารสารนานาชาติอย่างน้อย 2 -3 เรื่อง ถึงจะขอ รศ. ผ่าน

ส่วนการเขียนหนังสือ/ตำรา ก็ต้องใช้เช่นกัน แต่มักเป็นหนังสือที่มีเนื้อหาที่ดี หรือเป็นตำราองค์ความรู้ใหม่ๆ หนังสือที่ให้ความรู้ใหม่ที่คนไม่ค่อยเขียน ถึงมีโอกาสได้

แล้วต้องใช้งานวิจัยอีกอย่างน้อย 2 เรื่อง เผยแพร่ในวารสารระดับนานาชาติอย่างที่บอกข้างบน

แม้เกณฑ์ใน กพอ. กำหนดไว้ว่าขอ รศ. ต้องใช้งานวิจัย 2 เรื่องก็จริง แต่ถ้าใช้ 2 เรื่องขอจริงๆ จะไม่ค่อยผ่าน เพราะมันดูน้อยมากสำหรับพวก ม.รัฐ หลักๆ

เขาต้องใช้ 4-5 เรื่อง เป็นอย่างน้อย แต่ก็แล้วแต่สาขาวิชา เพราะสายวิทย์ สายสังคมศาสตร์ สายศิลป์ สายเกษตร สายแพทย์ ความเข้มข้นในการประเมินต่างกัน

แต่โดยเฉลี่ย พวก ม.รัฐ ในสายวิทย์ จะขอ รศ. ต้องใช้ 5 เรื่อง ขึ้นไป เพราะกันเหนียวกลัวไม่ผ่าน เพราะผู้ทรงคุณวุฒิที่ประเมินนั้นอาจหิน

บางคนอยู่จุฬาฯ มหิดล จะแข็งมาก พวก ม.รัฐ หลักๆ จะส่งให้ผู้ทรงคุณวุฒิที่อยู่ใน ม.รัฐหลักๆ ด้วยกันอ่าน ไม่ส่งไปให้ ม.ราชภัฎ หรือ ม.ราชมงคล พิจารณา

แต่คนขอจะไม่รู้ว่าใครเป็นผู้ทรงคุณวุฒิที่อ่านให้ ซึ่งมีถึง 3 คน ยกเว้นจะใช้เส้นสายมหาวิทยาลัยขอแอบดูรายชื่อ แล้วไปล๊อบบี้ ซึ่งก็อาจจะมีบางกรณีที่ช่วยๆ กัน

การขอตำแหน่งวิชาการ จะว่าง่ายก็ง่ายบางคน เพราะเขาเก่งและขยันทำงาน มีงานออกมาเยอะ

แต่บางทีก็ได้ยาก เพราะบางสาขาให้ยาก มันไม่มีกฎเกณฑ์ตายตัว แม้จะมีระเบียบให้ยึดก็จริง

แต่คนประเมินอาจจะไม่ได้มองแค่เกณฑ์ เขามองมากกว่านั้น อาจจะดูความเป็นสากลด้วย

อย่างสายแพทย์ วิศวะ วิทย์ มันก็คนละกลุ่มกัน คนพิจารณาก็คนละคน คนละผู้ทรงคุณวุฒิ และน้ำหนักการให้คะแนนผ่านก็ต่างกัน

กรณีของสาย วิศวะ และเกษตรศาสตร์ จะขอ รศ. ค่อนข้างง่ายกว่าสายแพทย์ และวิทยาศาสตร์

เพราะอย่างวิศวะ เขามีวัฒนธรรมวิชาการเฉพาะของเขา ที่เอาพวก proceedings มาใช้ในการขอตำแหน่งวิชาการได้

แต่คณะวิทย์ คณะแพทย์ จะไม่ยอมเลย ถึงแม้ สกอ. จะอนุญาต แต่ถ้าใครส่ง proceedings มาใช้ขอตำแหน่งวิชาการได้ แต่จะไม่มีทางผ่าน

เพราะ proceedings มันเผยแพร่ง่ายกว่าการส่งไปตีพิมพ์ใน International journals

แต่วัฒนธรรมของทางวิศวะเขาจะไม่เหมือนกับสายอื่น เขามองประเด็นว่าวิศวะก็ทำงานเผยแพร่เพียงเท่านี้ก็ยอมรับได้

ในขณะที่สายวิทย์ วิทย์การแพทย์ และแพทย์ ก็ยังมีความผันแปรในการให้ตำแหน่งวิชาการเลย บางสาขาวิชาของวิทย์ ก็อาจจะเข้มข้นมาก แต่บางสาขาวิชาก็เข้มข้นน้อยกว่า

บางสาขาต้องใช้งานเผยแพร่ในวารสารที่ต้องมีค่า impact factors เท่านั้น บางสาขาก็เอาแค่ที่อยู่ในฐาน Scopus ก็ได้

แต่ภาพรวมคือต้องมี international papers ที่อยู่ในฐานข้อมูลสากลนะ ถึงจะขอผ่าน

ซึ่งตรงนี้ทาง ม.เล็กๆ อาจจะไม่ต้องถึงขั้นนี้ก็ได้ แค่ตีพิมพ์ในระดับชาติของไทยก็อาจจะขอ รศ.ผ่าน

ส่วนสายเกษตรศาสตร์ อาจจะเอาสิทธิบัตรการทำเมล็ดพันธุ์ การปรับปรุงพันธุ์สายพันธุ์พืชและสัตว์มาใช้แทนผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารได้

ทางสายแพทย์ หมายถึงหมอ ก็เช่นกัน หมออาจะใช้เทคนิคที่พัฒนาคิดค้นมาใช้แทนงานวิจัยก็ได้ เมื่อยื่นขอ รศ. แต่ปกติก็จะมี papers ดีๆ สัก 2 เรื่องประกอบไปด้วย


ส่วนวิทย์การแพทย์ เช่น พวกชีวเคมีการแพทย์ ปรสิตวิทยา พยาธิวิทยา สรีรวิทยากรแพทย์ รวมถึงเภสัชศาสตร์ ก็จะใช้เกณฑ์ตีพิมพ์นานาชาติเป็นหลัก

มักต้องใช้ 3-5 เรื่อง คล้ายๆ สายวิทย์ หากต่ำกว่านี้ต้องมีนวัติกรรมอะไรสักอย่างประกอบถึงจะขอผ่าน

สำหรับ รศ. ชื่อภาษาอังกฤษคือ Associate Professor นั้น ที่เมืองไทยก็ถือว่าได้ง่ายกว่าของเมืองนอกมากๆ

เพราะเมืองนอก โดยทั่วๆ ไป ทั้งอังกฤษ อเมริกา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ผลงานต้องจำวนงานวิจัย 30-50 เรื่องขึ้นไปถึงได้เป็น Assoc. Prof.

ถ้าจะเป็น Prof. ของแต่ละประเทศก็มีเกณฑ์ต่างกัน ทั้งอเมริกา อังกฤษ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ เยอรมนี มีเกณฑ์ต่างกัน

อย่าง Assoc. Prof. ของออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ถือได้ว่าเทียบเท่า Prof. ของอเมริกาและญี่ปุ่น เพราะผลงานต้องเยอะมากถึงได้เป็น Assoc. Prof.

้ถ้าจะเป็น Prof. ต้องใช้ผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารนานาชาติ 100 เรื่องขึ้นไป ร่วมกับการเคยเขียนหนังสือ ตำรา หรือ book chapters

นอกจากนี้ยังต้องเคยผลิต ป.เอก จบไปหลัก 10 คนขึ้น และได้ทุนต่างๆ มาทำวิจัยมากพอสมควร ถึงได้รับการโปรโมตให้เป็น Prof.

ส่วนของ USA ก็จะใช้ผลงานวิจัยอย่างเดียวก็ได้ แต่ก็มักสัมพันธ์กับอายุและมหาวิทยาลัยที่สังกัดด้วย ว่าจะโปรโมตให้เป็น Prof. แบบใด

ถ้าอายุน้อยแต่ผลงานเยอะ ก็ได้รับการโปรโมตให้เป็น Prof. แต่ถ้าอายุเยอะแล้ว ต้องใช้ผลงานเยอะมากขึ้นตามเท่าตัว หากยังไม่ได้เป็น Prof. นะ

อเมริกาเองก็มี Prof. หลายประเภทมาก ขี้เกียจเขียน เอามาเทียบกับไทยไม่ได้หรอก มันคนละระบบ แต่เขาคุณภาพกว่าเราแน่นอน

ของไทยที่ระดับเป็น Prof. เก่งๆ เจ๋งๆ เท่าเมืองนอกจริงๆ นับได้ไม่ถึง 200 คนในประเทศนี้

ที่เหลือเป็น ศ. แบบผลงานธรรมดา ที่อาจจะดูดีในสายตาคนประเมินระดับหนึ่ง หรืออาจจะมีบางส่วนเป็นเส้นสายบ้าง

ในไทยเกณฑ์ขอ Prof. ใช้ 5 เรื่อง ตีพิมพ์ระดับนานาชาติ/ชาติ แต่มักใช้นานาชาติ เพราะถ้าระดับชาติ ก็ขึ้นอยู่กับธรรมชาติของสาขาวิชานั้นๆ

ถ้า ศ. ด้านภาษาไทย สังคมศาสตร์ อาจจะเอาแค่ในวารสารภาษาไทยก็ได้ แต่ ศ. สายวิทย์ คงยากจะได้ เพราะต้องเผยแพร่นานาชาติเป็นหลัก

แต่ของไทย ไม่ต้องมีถึง 50-100 เรื่อง เหมือนเมืองนอก ก็ขอ ศ. ผ่านได้ เอาสัก 10-20 เรื่อง ส่วนใหญ่ก็ขอผ่านล่ะ

บางคนมีผลงานแค่ 10 เรื่อง เหมือน ศ. ลาดกระบัง ที่มีคนอวยๆ ว่าเก่ง จบ MIT นั่นก็ขอผ่านได้ จากงานไม่ถึง 10 เรื่องด้วยซ้ำมั้ง และมี proceedings ซะเยอะ

ถ้าแบบนี้เมืองนอก ผศ. ยังไม่ได้เลย แต่ก็บ้านเราน่ะ จะไปว่ากันคงยาก มันเป็นแบบนี้มานาน

ยังมี ศ. ผลงานน้อยๆ ได้เป็น ศ. เยอะแยะ สมัยนี้ ใครๆ ก็เป็น ศ. ได้ แต่จะเป็น ศ. มีคุณภาพสู้ Prof. อเมริกา อังกฤษ ญี่ปุ่น จีน ฝรั่งต่างๆ ไหม ก็ต้องดูผลงานแต่ลคนไป

เพราะบางคนก็ผลงานเยอะจริงๆ แต่บางคนก็นิดเดียว แล้วได้เป็น ศ. แบบมีพลังภายในช่วย หรือบางคนก็ได้เป็น ศ. ตามธรรมชาติสาขาเขายอมรับแค่นั้นเอง

บางคนอยู่สายแพทย์ วิทย์ ทำวิจัย 40-50 เรื่อง ขอ ศ. 2-3 รอบไม่ผ่านก็มี เพราะด่านหินจากผู้ทรงคุณวุฒิมันเยอะ ธรรมชาติของแต่ละสาขาไม่เหมือนกัน

ไม่อยากวิจารณ์มาก เอาเป็นสรุปว่า ศ. เมืองไทย 90% ไม่สู้เมืองนอก และบางทีสู้ ผศ. ของเมืองนอกด้วยซ้ำ

วิจารณ์นี่ไม่ได้แปลว่าไม่รักประเทศนะ อย่าเข้าใจผิด แต่พูดข้อเท็จจริงอีกมุมให้ฟัง


  Printer-friendly page | Top
Nong-Oh click here to view user rating
Member since 2-Dec-16
220 posts, 1 feedbacks, 2 points

6. "RE: การขอตำแหน่งทางวิชาการ ของ ไทยกับ ของเมืองนอก ต่างกันไหมคะ"
In response to message #0
 
26-Mar-19, 08:39 AM (SE Asia Standard Time)
Click to EMail Nong-Oh Click to send private message to Nong-Oh Click to view user profileClick to add this user to your buddy list  
   รุ่นพี่โอ๋จบจากอเมริกามีโอกาสไปเป็นอาจารย์พิเศษก่อนพอทางมหาลัยเปิดรับอาจารย์เค้าก็ไปสมัครและได้เข้าไปเป็นอาจารย์ประจำ เคยฟังเค้าเล่าว่าถ้าจบแค่โทต้องมีประสบการณ์สอน 5 ปีเป็นอย่างต่ำและมีงานตีพิมพ์หรือเขียนหนังสือ1เล่มถึงจะขอทำตำแหน่ง ผศ. แต่ถ้าจบ ดร. มามีประสบการณ์สอนแค่2-3ปีก็สามารถขอทำตำแหน่ง ผศ. ได้แล้ว ปัจจุบันรวยเอาๆเพราะได้เงินจากการสอนพวกภาคพิเศษเยอะมาก


  boyplaza.net Gay Movies หนังใหม่อัพเดททุกวัน เริ่มต้น 50 บาทเท่านั้น โหลดได้ไม่จำกัด 3 วัน Printer-friendly page | Top
Nong-Oh click here to view user rating
Member since 2-Dec-16
220 posts, 1 feedbacks, 2 points

7. "RE: การขอตำแหน่งทางวิชาการ ของ ไทยกับ ของเมืองนอก ต่างกันไหมคะ"
In response to message #6
 
26-Mar-19, 08:40 AM (SE Asia Standard Time)
Click to EMail Nong-Oh Click to send private message to Nong-Oh Click to view user profileClick to add this user to your buddy list  
   ปล. เค้าเป็นอาจารย์อยู่ที่รามคำแหงคับ


  Printer-friendly page | Top
Mr Bean click here to view user rating
Member since 30-Jul-17
736 posts, 6 feedbacks, 12 points

8. "RE: การขอตำแหน่งทางวิชาการ ของ ไทยกับ ของเมืองนอก ต่างกันไหมคะ"
In response to message #7
 
26-Mar-19, 04:56 PM (SE Asia Standard Time)
Click to EMail Mr%20Bean Click to send private message to Mr%20Bean Click to view user profileClick to add this user to your buddy list  

อ้าวแบบนี้ ประเทศเดียวกัน แต่คุณภาพต่างกันนะซิคะ

ผศ จากร ราชภัฏ กับ ม.รัฐ ก็ไม่เท่ากันแล้ว

ตอนแรกฉันเข้าใจว่า คนที่เลือกคนอ่านพิจารณา จะเป็น สกอ ซะอีก

กลายเป็นว่า แบบนี้ ม.ต้นสังกัด เป็นคนเลือกคนอ่านให้นะซิคะ

ก็เท่ากับว่าช่วยๆกันได้นะซิ ส่งให้คนปล่อยผ่านง่ายๆ ราชภัฏ จะได้มี ผศ รศ ศ เยอะๆ แบบนี้ก็แย่นะซิคะ

เออถามอีกอย่างคะ สมุมติ ว่ากรณี มี ผศ อยู่ราชภัฏ แล้วขอย้ายมาสอน ม. รัฐ แบบนี้ ตำแหน่งทางวิชาการจะตามมาด้วยไหมคะ หรือว่าต้องมาประเมินใหม่

เพราะถ้าไม่ต้องประเมินใหม่ คนมันก็ไปเป็น อ. สอนราชภัฏก่อน แล้วขอ ผศ รศ ก่อนแล้วคอยขอย้าย มา ม. ดีๆ แบบนี้ก็ได้ซิคะ


*******************



  boyplaza.net Gay Movies หนังใหม่อัพเดททุกวัน เริ่มต้น 50 บาทเท่านั้น โหลดได้ไม่จำกัด 3 วัน Printer-friendly page | Top
mhr
Guest

9. "RE: การขอตำแหน่งทางวิชาการ ของ ไทยกับ ของเมืองนอก ต่างกันไหมคะ"
In response to message #0
 
26-Mar-19, 09:30 PM (SE Asia Standard Time)
 
   เนื่องจากเกณฑ์การประเมิน ตำแหน่ง ผศ รศ ศ
มาจากความคิดเห็นของผู้ประเมิน (ซึงเป็นอาจารย์ที่มีตำแหน่งเดียวกัน หรือสูงกว่า)

ดังนั้นพอเป็น "ความคิดเห็น"
จึงมีมาตรฐานหลายระดับขึ้นอยุูกับเลือกผู้ประเมิน โหด หรือ ไม่โหด

คนได้ตำแหน่งเหล่านี้จึงมีตั้งแต่
ผลงานคุณภาพไม่มี แต่ได้ตำแหน่ง
ผลงานดี ได้ตำแหน่ง
และผลงานดี ไม่ได้ตำแหน่งก็มี

จึงหามาตรฐานอะไรไม่ได้กับผู้ดำรงตำแหน่ง ผศ รศ ศ ของประเทศไทย

คือมีชื่อขึ้นหน้าตำแหน่ง แต่บอกไม่ได้จริงๆ ว่าเก่งจริงรึเปล่า
ต้องไป search ดูงานวิจัยที่ตีพิมพ์เองค่ะ


  Printer-friendly page | Top
ค่ะ
Guest

10. "RE: การขอตำแหน่งทางวิชาการ ของ ไทยกับ ของเมืองนอก ต่างกันไหมคะ"
In response to message #9
 
26-Mar-19, 09:34 PM (SE Asia Standard Time)
 
   >เนื่องจากเกณฑ์การประเมิน ตำแหน่ง ผศ รศ ศ
>มาจากความคิดเห็นของผู้ประเมิน
>(ซึงเป็นอาจารย์ที่มีตำแหน่งเดียวกัน หรือสูงกว่า)
>
>ดังนั้นพอเป็น "ความคิดเห็น"
>จึงมีมาตรฐานหลายระดับขึ้นอยุูกับเลือกผู้ประเมิน โหด หรือ
>ไม่โหด
>
>คนได้ตำแหน่งเหล่านี้จึงมีตั้งแต่
>ผลงานคุณภาพไม่มี แต่ได้ตำแหน่ง
>ผลงานดี ได้ตำแหน่ง
>และผลงานดี ไม่ได้ตำแหน่งก็มี
>
>จึงหามาตรฐานอะไรไม่ได้กับผู้ดำรงตำแหน่ง ผศ รศ ศ ของประเทศไทย
>
>คือมีชื่อขึ้นหน้าตำแหน่ง แต่บอกไม่ได้จริงๆ
>ว่าเก่งจริงรึเปล่า
>ต้องไป search ดูงานวิจัยที่ตีพิมพ์เองค่ะ


ส่วนอีกะเทยแก่หน้าผี mhr คือ ไม่มีผลงานดี ผลงานไม่มีคุณภาพ แต่อยากได้ตำแหน่งดีๆ ค่ะ 5555


  boyplaza.net Gay Movies หนังใหม่อัพเดททุกวัน เริ่มต้น 50 บาทเท่านั้น โหลดได้ไม่จำกัด 3 วัน Printer-friendly page | Top

Conferences | Topics | Previous Topic | Next Topic

*** ข้อความที่ท่านได้อ่านในเว็บเพจนี้ เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และตีพิมพ์แบบอัตโนมัติ ผู้ดูแลเว็บไซต์แห่งนี้ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
และ ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรองด้วยตัวเอง
ห้ามโพสข้อความ รูปภาพ ไฟล์ที่มีลิขสิทธิ์ ที่สร้างความเสียหายให้แก่บุคคลอื่น
ท่านสามารถแจ้งลบข้อความได้ที่ Link "แจ้งลบข้อความ" ที่มีอยู่ใต้ข้อความทุกข้อความ หรือแจ้งมาได้ที่ ryubedroom@yahoo.com

Our Sponsor


Copyright Palm-Plaza,Inc. All Rights Reserved.


 free counters