วันนี้ (6 มิ.ย.2566) นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) แถลงข่าวปัญหาขาดแคลนแพทย์ในระบบสาธารณสุข ว่า กรณีปัญหาการขาดแคลนกำลังคนไม่ใช่แค่แพทย์ที่ขาดแคลน แต่รวมถึงพยาบาล ทันตแพทย์ นักรังสีการแพทย์ และวิชาชีพอื่นๆ ที่ สธ. ยังขาดแคลน โดยจะเสนอข้อมูลที่เพิ่งจัดทำออกมา เพื่อประกอบการแถลงข่าววันนี้
นพ.ทวีศิลป์ กล่าวว่า ตอนนี้มีแพทย์ในระบบที่ขึ้นทะเบียนกับแพทยสภา อัตรากำลัง 50,000-60,000 คน และอยู่ในสังกัด สธ. 24,600 คน คิดเป็น 48% แต่ดูแลคนในระบบหลักประกันสุขภาพ 45 ล้านคน หรือ 70% ของประชากร ซึ่งสะท้อนถึงภาระงานเฉลี่ยแพทย์ 1 คนต่อ 2,000 คนแต่มาตรฐาน 3 ต่อ 1,000 คน และการกระจายแพทย์ในเขตสุขภาพ เขต 13 คือ กทม. และเขตสุขภาพอื่นๆ มีประชากร 3-5 ล้านคน ดังนั้นแพทย์จำนวนหลัก 100-1,000 คน ในแต่ละพื้นที่จึงดูแลแตกต่างกัน พบว่าเขตสุขภาพที่ 7-8 และ 9 และ 10 ในภาคอีสาน ส่วนสีส้มและสีแดง เป็นของเอกชนและการประกันสุขภาพส่วนตัว
รองปลัด สธ. การผลิตแพทย์ปี 2561-2570 ภาพรวมที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กำกับมหาวิทยาลัยต่างๆ จะผลิตแพทย์ให้ได้ปีละ 3,000 คน หรืออีก 10 ปีจะมีบุคลากรแพทย์เพิ่มเป็น 30,000 คน แต่ยังให้กระทรวงสาธารณสุขผลิตแพทย์เพิ่มปีละ 1 ใน 3 ของบุคลากรหรือ 10,000 คน ภาระงานของ สธ. ไม่ใช่แค่ใช้แรงงานแพทย์ แต่ได้ร่วมผลิตแพทย์ด้วย
อ่านข่าว : เปิดสถิติแพทย์ล่าสุด ปี 66 ไทยมีแพทย์ทั้งสิ้น 6.8 หมื่นคน อยู่ใน กทม. 3.2 หมื่นคน
นพ.ทวีศิลป์ กล่าวอีกว่า เมื่อผลิตแพทย์แล้ว จะมีการจัดสรรแพทย์ที่ทำสัญญากับ สธ. โดยมีคณะแพทย์ 20 แห่งร่วมกันพิจารณา จากสูตรของปี 2565 และจัดสรรปี 2566 ซึ่งถ้าคำนวณจากโควตาที่ผลิตแพทย์ปีละ 3,000 คน แต่บางส่วนมียังไม่จบตามกำหนดอาจเหลือ 2,700 คนต่อปี
แต่พบว่าเมื่อมีการจัดสรรแล้วจะมีแพทย์ที่เข้ามาเติมใน สธ. ไม่ตรงตามตัวเลขที่ขอไป เพราะยังต้องจัดสรรให้กับทางกลาโหม เช่น สธ.ขอแพทย์ 2,161 คน แต่ได้ 1,960 คน หรือเฉลี่ยย้อนหลัง 5 ปีแพทย์เพิ่มปีละ 1800-1900 อัตรา
หากดูตัวเลขย้อนหลัง 5 ปี มีการผลิตแพทย์และที่ได้รับการจัดสรรมาดังนี้ ปี 2561 ผลิตแพทย์ได้ 2,016 จัดสรร 1,994 อัตราและ 2562 ผลิตแพทย์ 2,444 คน ปี 2563 จำนวน 2,039 คน และปี 2565 จำนวน 1,850 คน และพอคนน้อย แต่ภาระงานไม่ได้น้อยลง โดยช่วง 2-3 ปีที่ไทยเผชิญโควิด-19 และแพทย์ทำงานร่วมฝ่าวิกฤตนี้มา
การเรียนแพทย์ 6 ปี และปีที่ 7 เรียกแพทย์ใช้ทุนปี 1 หรือ อินเทิร์น และแพทยสภากำหนดว่าต้องให้เพิ่มทักษะอีก 1 ปีเพื่อให้มีทักษะในการเจอเคสต่างๆ ซึ่งต่างจากยุคของตัวเองที่จบ 6 ปีแล้วลุย เรียนเอ็กเทิร์น แค่ 6 ปี และประเมินจากปี 2538 ว่าควรต้องเพิ่มพูนทักษะ จึงเป็นที่มาของเอ็กเทิร์นในปีที่ 7 คือสังกัด สธ. และทำให้เด็กจบแพทย์มาอยู่ที่ สธ. ซึ่งต้องทำหน้าที่สอนด้วย และในความคาดหวังของน้องๆ ที่แพทยสภาส่งมาคือการเพิ่มพูนทักษะ แต่ของ สธ. คือทำงานเลย แต่มาผสมกันทั้งสอนและทำงานด้วย ซึ่ง สธ. ได้จัดสรรที่นั่ง โดยมีโรงพยาบาล 117 แห่ง รองรับแพทย์ แต่ในความเป็นจริงไม่ถึง ทำให้ทุกโรงพยาบาลมีปัญหาขาดแคลน
แจงปมภาระงานเหตุผลิตแพทย์-จัดสรรไม่ครบ
รองปลัด สธ. กล่าวว่า ประเด็นที่เกิดภาระงาน ตัวเลขที่จบน้อยและจัดสรรน้อย ขณะที่การรองรับบริการทางด้านสาธารณสุขทำให้เกิดเวิร์กโหลด และทำให้ต้องพึ่งกำลังแพทย์ 20,000 คน ที่มีตัวเลขอยู่รับผิดชอบ 75%
ก่อนหน้านี้มีการประเมินพบว่าในจำนวน 117 โรงพยาบาลที่แพทย์ต้องทำงานมากกว่า 64 ชม.ต่อสัปดาห์ถึง 9 แห่ง และ มากกว่า 59 ชม.ต่อสัปดาห์ 4 แห่ง และทำงานมากกว่า 52 ชม. ต่อสัปดาห์ 11 แห่ง และ มากกว่า 50 ชม.ต่อสัปดาห์ 8 แห่ง แต่มาตรฐานโลกต้องไม่เกิน 40 ชม.ต่อสัปดาห์ ซึ่งเขามีแพทย์มากกว่า 100,000 คน
รองปลัด สธ. กล่าวอีกว่า การที่พยายามจะลดเวิร์กโหลดลงมา แต่ยังทำได้ไม่เต็มที่ ต้องเติมแพทย์มากขึ้น มีการรับรู้ แต่เนื่องจากต้นน้ำน้อย น้ำมันไหลมาน้อยก็ยังแห้งแล้งกันอยู่ เป็นสิ่งที่พยายามสื่อสาร
นอกจากนี้ นพ.ทวีศิลป์ กล่าวว่า หลังจากทำงานครบ 1 ปีแล้วจะได้ใบเพิ่มพูนทักษะ และแพทยสภาให้โอกาสลาเรียนเฉพาะทาง และแพทย์ออกจากระบบการบริการประชาชน 4,000 คน จาก 24,000 คน ดังนั้นเฉลี่ยแพทย์ 1 คนเรียนแพทย์ 6 ปี เพิ่มพูนทักษะ 1 ปี และเรียนเฉพาะทางอีก 3 ปี รวม 10 ปี แต่ประคับประคองกันมา
แพทย์ลาออก 10 ปี 226 คน
นพ.ทวีศิลป์ กล่าวว่า ส่วนตัวเลขการลาออกในช่วง 10 ปี แพทย์บรรจุปี 255-2565 จำนวน 19,355 คน ลาออกรวมกัน 226 คน ถือว่าน้อย เพราะต้องอยู่ให้ครบตามที่แพทยสภากำหนดถึงจะเรียนต่อแพทย์เฉพาะทางเฉลี่ยปีละ 2.1%
ส่วนปี 2 ที่ครบคุณสมบัติแล้วที่จะเป็นแพทย์เฉพาะทาง ไปฟรีเทรนนิ่ง เช่น แพทย์มหาวิทยาลัย ปีละ 188 คน ส่วนปี 3 ลาออก 885 คน แต่ถ้ามารวมกันแล้วประมาณ 1,500 คน ซึ่งยังไม่รวมอัตราเกษียณปีละ 150-200 คน รวมลาออก 655 คน
ขอผลิตแพทย์เติมในระบบอีก 11,000 คนภายในปี 69
รองปลัด สธ. กล่าวถึงกรณีปัญหาค่าตอบแทน และบ้านพักสวัสดิการว่า นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัด สธ. ให้แนวทางเรื่องการเพิ่มค่าตอบแทน ซึ่งปัญหาดีขึ้นกว่าเดิม โดยค่าตอบแทนได้เพิ่มแล้ว ส่วนบ้านพักสวัสดิการ และอานิสงส์โควิด-19 ได้ตั้งของบให้บุคลากรแต่ถูกตัดทุกปี บ้านพักคุณภาพต่ำ แต่ก็พยายามทำให้ดีขึ้น ส่วนความก้าวหน้า เช่น การบรรจุเป็นข้าราชการ ส่วนภาระงานที่มาก ยอมรับแก้ยากจากตัวเลขแพทย์กว่า 20,000 คน กับภาระงาน ต้องเติมโดยมีแผนผลิตแพทย์เพิ่มได้ปรับรอบอัตรากำลังใหม่ 2565-2569 จำนวน 35,000 คนในปี 2569 เพิ่มขึ้นอีก 11,000 คน