ข้าราชการครูจะมีการทำผลงานเพื่อเลื่อนระดับขั้น ตามกฎระเบียบที่กำหนด ในบางครั้งการทำผลงาน คนที่ทำผลงานก็ไม่ได้ทำผลงานตัวเองจริง ๆ จะอย่างไรก็ดีครูที่ตั้งใจสอนก็มี แต่บางครั้งเด็กบางคนก็ดื้อจนเกินไปจนสร้างความปวดหัวให้ครู
และนโยบายของกระทรวงธิการที่ห้ามให้นักเรียนซ้ำชั้น เช่น ระดับ ประถม มัธยม ขณะที่เด็กบางคนก็ไม่ตั้งใจเรียน ไม่ทำการบ้านส่งครู เพราะรู้ว่ายังไงก็ได้เลื่อนชั้นในปีถัดไป ทำให้เมื่อเด็กเหล่านั้นเลื่อนชั้นขึ้นไปโดยที่พื้นฐานไม่แน่นก็จะทำให้การศึกษาขั้นสูงลำบาก
ส่วนเด็กที่ตั้งใจเรียนมีพื้นฐานแน่นก็จะสามารถเอาตัวรอดได้ และครูบางคนก็ไม่ได้ตั้งใจสอน โดยหลักแล้วอยู่ที่ perspective คนออกแบบนโยบาย
อีกอย่างครูเขาจะมีสวัสดิการหนึ่งที่ให้กู้ได้คือ "ภาษีสังคม" นั้นเอง ข้าราชการครูก็เหมือนข้าราชการอื่น ๆ หรือพนักงานเอกชน ที่โดยปัจเจกบุคคลแล้วก็มีความต้องการ เพียงแต่มีสวัสดิการเอื้อจึงสามารถทำได้
แต่ในขณะเดียวกันต้องยอมรับว่า เงินเดือนของครูนั้นน้อยนิด เมื่อเทียบกับภาระงานที่มาก ครูบางคนต้องสอนหลายวิชาทั้งที่ตัวเองไม่ถนัด ในบางครั้งอาจจะทำให้นักเรียนไม่สามารถรับสารได้อย่างเต็มที่ แต่ถ้าหากครูคนนั้นสอนในวิชาที่ตัวเองจบการศึกษามาจะทำให้การถ่ายทอด หรือการส่งสารมีประสิทธิภาพมากกว่า
หน้าที่หลักของครูเลยคือ "ย่อยสิ่งยากๆ ให้เข้าใจง่ายเพียงนิดเดียว" ขึ้นอยู่กับความสามารถของครูส่วนหนึ่ง และก็เด็กด้วย อีกอย่างขั้นตอนก็ไม่ได้เอื้ออำนวยให้ครูได้อย่างเต็มที่ เช่น งานเอกสารที่เยอะจนเกินไป อุปกรณ์บางอย่างต้องออกเงินซื้อเอง หลายๆ อย่างอ้างอิงตามเอกสารมากจนเกินไป บางทีคนมาตรวจก็ไม่รู้หรอกว่าทำจริงไหม คนก็ส่วนหนึ่ง นโยบายก็ส่วนหนึ่ง เด็กก็ส่วนหนึ่ง ขั้นตอนส่วนหนึ่ง มันเป็นช่องโหว่ที่อันตราย สุดท้ายมันก็วิ่งไปที่ "เด็ก" นั้นเอง