
หัวใจในที่นี้ หมายถึง ความรัก, ความชอบ, ความผูกพันธ์ต่อบุคคล, สัตว์เลี้ยง, สถานที่, กิจกรรมหรือวิชาความรู้แขนงต่างๆ จัดเป็นความหมายใน
เชิงนามธรรมที่มีความละเอียดอ่อนและสลับซับซ้อนในตัวเองจนในหลายๆครั้งก็ยากที่จะทำความเข้าใจและดูแลเอาใจใส่หัวใจของตนเอง ไม่ได้หมายถึง
อวัยวะที่ทำหน้าที่สูบฉีดโลหิตไปหล่อเลี้ยงร่างกายแต่อย่างใด
เจ้าของหัวใจเมื่อทราบว่าหัวใจของตนเองนั้นไปอยู่ ณ สิ่งใดอาจจะมีเพียงสิ่งเดียวหรือหลายๆสิ่งพร้อมๆกันก็จะพยายามทำความเข้าใจและดูแลเอาใจใส่สิ่ง
นั้นอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้ตนเองรู้สึกพึงพอใจ ถ้าสิ่งนั้นเป็นสิ่งที่ไม่มีชีวิตจิตใจหรือมีชีวิตจิตใจแต่มีความสลับซับซ้อนน้อยกว่าตนเองก็คงจะไม่เป็นการยาก
เกินไปนักที่จะดูแลหัวใจของตนเองให้รู้สึกพึงพอใจได้ โดยที่ถึงแม้ว่าหัวใจอาจจะไปอยู่ในหลายๆสิ่งพร้อมๆกันเจ้าของหัวใจก็ย่อมที่จะแบ่งเวลาและโอกาส
ตลอดจนอาศัยความช่วยเหลือจากบุคคลอื่นๆให้มาช่วยดูแลหัวใจของตนเองในทุกๆส่วนเพื่อให้เกิดความพึงพอใจในทุกๆส่วนได้ แต่ในทางกลับกัน ถ้าหัวใจ
ของตนเองนั้นไปอยู่กับบุคคลอื่นซึ่งมีชีวิตจิตใจอันสลับซับซ้อนจนยากแก่การทำความเข้าใจและดูแลเอาใจใส่ แล้วถ้าเจ้าของหัวใจไม่สามารถทำความเข้า
ใจและ/หรือดูแลเอาใจใส่บุคคลนั้นได้ดีพอทั้งๆที่พยายามอย่างเต็มที่ก็จะเกิดความรู้สึกวิตกกังวล, ขาดความมั่นใจหรือเศร้าโศกเสียใจและเมื่อความรู้สึกดัง
กล่าวก่อให้เกิดผลกระทบอันไม่พึงประสงค์ต่อเจ้าของหัวใจในด้านต่างๆไม่ว่าจะเป็นด้านชีวิตส่วนตัว, ด้านการทำงานและด้านการเข้าสังคมย่อมเป็นเครื่อง
บ่งชี้ว่าเจ้าของหัวใจกำลังเผชิญกับภาวะที่ยากลำบากที่สุดอย่างหนึ่ง นั่นก็คือ ภาวะที่เรียกว่า “หัวใจเป็นพิษ”
หัวใจเป็นพิษ เป็นภาวะทางจิตใจที่สามารถเกิดขึ้นได้กับเจ้าของหัวใจโดยที่ระดับความรุนแรงและความสลับซับซ้อนนั้นมีความแตกต่างกันโดยขึ้นอยู่กับ
ปัจจัยหลายประการ ดังนี้
1. รูปแบบของสถานภาพระหว่างเจ้าของหัวใจกับบุคคลที่เกี่ยวข้องทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม ได้แก่ รูปแบบเครือญาติ, ครอบครัว, ผู้ร่วมงาน เป็นต้น
ซึ่งที่พบเป็นสาเหตุได้บ่อย, รุนแรงและสลับซับซ้อนมากที่สุด ได้แก่ ความสัมพันธ์แบบเครือญาติระหว่าง บิดาหรือมารดากับบุตร และแบบครอบครัว
ระหว่างสามีกับภรรยาหรือความรักแบบหนุ่มสาว
2. ระดับของหัวใจที่ไปอยู่กับบุคคลที่เกี่ยวข้อง ถ้าหัวใจตามนิยามที่ได้กล่าวไว้แล้วข้างต้นไปอยู่กับบุคคลดังกล่าวมากเท่าใดก็ย่อมก่อให้เกิดภาวะหัวใจ
เป็นพิษได้รุนแรงเท่านั้น ซึ่งตรงกับวลีว่า “รักมากก็ทุกข์มาก”
3. ระดับความสามารถในการทำความเข้าใจและดูแลเอาใจใส่บุคคลอื่นของเจ้าของหัวใจ
เจ้าของหัวใจทุกๆคนย่อมมึความสามารถนี้อยู่ในตัวเสมอเพียงแต่แตกต่างกันที่ระดับเท่านั้นและยังไม่สามารถอธิบายได้ถึงสาเหตุที่ก่อให้เกิดความแตกต่าง
ของระดับความสามารถนี้ในแต่ละบุคคล ถ้าบุคคลใดมีความสามารถนี้ในระดับสูงและบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้องไม่มีความสลับซับซ้อนของจิตใจจนยากเกินกว่า
การทำความเข้าใจและดูแลเอาใจใส่ บุคคลผู้นั้นย่อมมีความเสี่ยงต่อภาวะหัวใจเป็นพิษน้อยกว่าผู้ทึมีความสามารถนี้ในระดับที่ต่ำกว่า ในทางตรงกันข้าม ถ้า
บุคคลดังกล่าวมีความสามารถนี้ในระดับต่ำและถึงแม้บุคคลที่เกี่ยวข้องนั้นง่ายต่อการทำความเข้าใจและดูแลเอาใจใส่ก็ตาม บุคคลผู้นั้นก็ยังคงมีความเสี่ยงสูง
ต่อภาวะหัวใจเป็นพิษมากกว่าผู้ที่มีความสามารถนี้ในระดับที่สูงกว่าได้เช่นกัน
เจ้าของหัวใจเมื่อทราบว่าตนเองมีความสามารถนี้อยู่ในระดับต่ำก็ต้องพยายามฝึกฝนให้ตนเองมีระดับความสามารถนี้สูงขึ้นทั้งโดยการฝึกฝนด้วยตนเองและได้
รับคำแนะนำจากบุคคลอื่นๆรอบข้าง (ในที่นี้อาจจะเป็นบุคคลที่หัวใจของตนเองไปอยู่ด้วยก็ได้) เพื่อพัฒนาขีดระดับความสามารถในด้านนี้ของตนเอง
และลดโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดภาวะหัวใจเป็นพิษ
เจ้าของหัวใจเมื่อทราบว่าหัวใจของตนเองนั้นไม่ได้อยู่กับตนเองแล้วแต่ไปอยู่กับบุคคล, สัตว์เลี้ยง, สถานที่, กิจกรรมหรือวิชาความรู้แขนงใดๆก็ตาม สิ่งที่
เจ้าของหัวใจจะต้องกระทำเป็นลำดับแรก นั่นคือการประเมินความเสี่ยงต่อภาวะหัวใจเป็นพิษ โดยอาศัย สมอง ซึ่งในที่นี้ หมายถึง การตั้งมั่นอยู่ในสติ, การคิด
อย่างมีเหตุผลและรอบคอบ
เพื่อให้ได้มาซึ่งความเสี่ยงที่แท้จริงโดยปราศจากอคติให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้เมื่อประเมินความเสี่ยงพบว่ามีความเสี่ยงสูง สมองจะทำหน้ายับยั้งชั่งใจไม่
ให้หัวใจไปอยู่กับสิ่งดังกล่าวและถ้าพบว่ามีความเสี่ยงต่ำก็ย่อมที่จะสามาถทำความเข้าใจและดูแลเอาใจใส่สิ่งดังกล่าวอย่างเต็มกำลังความสามารถต่อไป
เพื่อให้เกิดความพึงพอใจในที่สุด ต่อให้ถึงแม้ในที่สุดจะเกิดภาวะหัวใจเป็นพิษขึ้นโดยอุบัติเหตุหรือที่เรียกกันว่า “อุบัติเหตุของหัวใจ” ทั้งๆที่ประเมินความ
เสี่ยงอย่างดีที่สุดแล้วก็ตาม ก็ไม่ต้องเสียใจเพราะอย่างน้อยๆที่ตราบใดที่สมองยังอยู่กับตัวแล้ว เจ้าของหัวใจก็ยังสามารถที่จะใช้สมองของตนเองเป็นยาแก้
ภาวะ“หัวใจเป็นพิษ”ได้ด้วยตนเองเสมอเพียงแต่อาจจะใช้ตัวช่วย, โอกาสและเวลาแตกต่างกันไปแล้วแต่กรณี เข้ากับวลีที่ว่า “รักด้วยสมอง”
เรื่องนี้ถึงแม้หัวใจจะยังคงเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดก็ตามแต่สิ่งที่สำคัญรองลงมาแต่ก็ขาดไม่ได้นั่นก็คือสมองที่ทำหน้าที่ทั้งคอยควบคุมหัวใจและดูแลเจ้าของ
หัวใจในยามที่หัวใจเป็นพิษ แล้วท่านผู้อ่านล่ะเคยนึกถึงสมองของตัวเองบ้างไหมในยามที่หัวใจเป็นพิษ?
