Go back to previous page
Forum URL: https://www.palm-plaza.com/cgi-bin/CCforum/board.cgi
Forum Name: ThE LoveR
Topic ID: 244653
Message ID: 6
#6, RE: ดราม่า! เมื่อธัญญ่า ใช้คำว่าผัว-เมีย ในการคัดเลือกนักแสดงซีรี่ย์วาย แต่ถูกชาวเน็ตปัญญาชน ด่าว่าไร้มารยาท เหยียดเพศ สาววายถึงกับประกาศแบนไม่ขอสนับสนุนซีรี่ย์เรื่องนี้
Posted by QUEER on 05-Apr-23 at 00:29 AM
In response to message #5
“คนไหนรุก(ผัว) คนไหนรับ(เมีย)” เราคงปฏิเสธไม่ได้ว่าคำถามลักษณะนี้มักจะโผล่มาในหัวเราเสมอเวลาเราเห็นคู่รักชาย-ชาย โดยเราอาจเริ่มต้นจากการมองรูปลักษณ์ภายนอก เช่น หากคนไหนรูปร่างสูงโปร่ง ดูกำยำก็มักจะถูกสันนิษฐานว่าเป็นรุก ในขณะที่คนตัวเล็กกว่า รูปร่างบอบบางกว่าก็มักจะถูกตัดสินว่าเป็นรับไปโดยปริยาย นอกจากนี้ก็ยังมาจากการตัดสินจากลักษณะท่าทางหรือความ”ออกสาว” ที่มากน้อยต่างกัน โดยคนที่มีความออกสาวน้อยกว่ามักจะถูกตัดสินให้เป็นรุก และออกสาวมากกว่าก็จะกลายเป็นรับ
ชุดความคิดเหล่านี้มีอยู่ในสังคมอยู่แล้วหรือไม่? การตัดสินคนใดคนหนึ่งว่าเป็นรุกหรือรับนั้นจำเป็นต้อง อาศัยชุดความคิดนี้อย่างเป็นปกติอยู่แล้วหรือเปล่า? และเราได้ชุดความคิดลักษณะนี้มากจากไหน?...

แต่หากคุณเป็นหนึ่งในกลุ่มเป้าหมายของนิยาย/ซีรีย์วาย คนก็อาจจะทราบเหตุผลดี....

ถึงนิยายหรือซีรีย์วายจะเข้ามาสร้างปรากฏการณ์บางอย่างที่มีผลต่อกลุ่มคู่รักชาย-ชาย ให้กับสังคม ทำให้ความรักในลักษณะดังกล่าวดูเป็นที่น่ายอมรับมากขึ้น หรือแม้กระทั่งเป็นที่ชื่นชอบของคนบางกลุ่มในสังคมด้วยซ้ำไป แต่ในอีกแง่หนึ่ง สื่อเหล่านี้ก็ได้มอบชุดความคิดบางอย่างและสร้างภาพของกลุ่มคนชายรักชายให้กับสังคมไทยอีกด้วย

นิยายวายโดยส่วนมากมักจะมีการกำหนดลักษณะหลายๆอย่างของรุกกับรับที่ค่อนข้างตายตัว ไม่ว่าจะเป็นรูปร่าง สรีระ บุคลิกภาพหรือแม้กระทั่งลักษณะนิสัย ก็สามารถนำมาใช้บ่งบอกความเป็นรุก/รับได้ทั้งนั้น ซึ่งทั้งสังคมและตัวเราเองก็รับเอาชุดความคิดเหล่านี้มาใช้ในการตัดสินข้อแบ่งแยกดังกล่าวด้วยเช่นกัน

อีกทั้งนิยายวายยังเข้ามาสร้างภาพที่ค่อนข้างตายตัวหรือ Stereotype ลักษณะบางอย่างให้กับกลุ่มคนที่ถูกเรียกว่า “ตุ๊ด” ซึ่งมักจะรับบทเป็นได้เพียงตัวละครชายขอบของนิยายและซีรีย์วายเท่านั้น เช่น การเป็นตัวละครที่มี ลักษณะที่ออกสาวมากอย่างเห็นได้ชัด มักถูกสร้างให้เป็นเพียงกลุ่มคนที่ใช้สร้างสีสันและความตลกให้กับเนื้อเรื่อง ทำหน้าที่คอยส่งเสียงกรี๊ดกร๊าดหรือคอยสนับสนุนความหล่อเหลาและความเป็น”ผู้ชาย”ของตัวละครหลักในนิยายวายเท่านั้น

สิ่งเหล่านี้ได้กลายมาเป็นภาพจำเกี่ยวกับ “ตุ๊ด” ในสังคม อีกทั้งยังทำให้การออกสาวเป็นเรื่องที่ไม่พึงประสงค์มากในกลุ่มเกย์อีกด้วย ว่ากันง่ายๆก็คือ การออกสาวที่มากจนเกินไปจึงอาจทำให้ยากต่อการหาผัวในกลุ่มเกย์ เพราะผู้ที่ออกสาวมากนอกจากจะถูกมองว่าเป็น”ตุ๊ด” มากกว่าที่จะเป็นเกย์แล้ว ยังอาจถูกมองว่าเป็นบุคคลชายขอบหรือคนตลกโดยธรรมชาติ เช่นเดียวกันกับในนิยายวายอีกด้วย

เมื่อมาถึงจุดๆนี้ เราอาจจะต้องเริ่มตั้งคำถามเกี่ยวกับนิยายและซีรีย์วายว่า ถึงแม้สิ่งเหล่านี้จะช่วยให้สังคมชอบรับความหลากหลายทางเพศมากขึ้น แต่แท้จริงแล้วมันได้ทิ้งชุดความคิดบางอย่างให้กับสังคมหรือไม่ ทั้งชุดความคิดที่ว่า รุก/รับจะต้องมีลักษณะยังไง รุกไม่ควรที่จะออกสาวมากกว่ารับ หรือรับควรที่จะตัวเล็กกว่ารุก หรือแม้กระทั่งชุดความคิดที่ว่า “ออกสาวเท่ากับประหาร” นั้น มันเป็นเพราะอิทธิพลจากสื่อต่างๆที่เราเสพกันในทุกๆวันกันหรือเปล่า? นิยายวายและซีรีย์วายทำให้สังคมยอมรับและเข้าใจกลุ่มคนรักร่วมเพศมากขึ้นจริงๆหรือไม่? หรือเป็นเพียงเครื่องมือที่ให้กดทับการแสดงออกบางอย่างของกลุ่มคนเหล่านี้ เท่านั้นเอง...

เกย์รุกคนหนึ่งที่มีรูปร่างเล็กบาง ออกสาวแบบไม่ไหวแล้ว แต่ดันมีเมีย ทำไมจึงกลายเป็นเรื่องแปลกในสังคม