Go back to previous page
Forum URL: https://www.palm-plaza.com/cgi-bin/CCforum/board.cgi
Forum Name: ThE LoveR
Topic ID: 244762
Message ID: 2
#2, RE: ทำไมคนอินโด ถึงชอบตั้งชื่อตัวเองเป็นภาษาเกาหลีค่ะ แล้วก็พยายามศัลยกรรมหน้าให้เหมือนคนเกาหลี
Posted by โจโค on 08-Apr-23 at 02:36 PM
In response to message #1
ประเทศอินโดนีเซียกลับมาเป็นที่พูดถึงในกลุ่มนักลงทุนอีกครั้ง บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ออกกองทุนที่ลงทุนตรงในประเทศอินโดนีเซียในระยะเวลาใกล้กันถึง 2 กองทุน ขณะที่ธุรกิจการเงินไทย อย่างธนาคารกสิกรไทย และกลุ่ม SCBx (ไทยพาณิชย์) ต่างเดินหน้าขยายธุรกิจในอินโดนีเซียในปีนี้

ไตรมาส 2 ที่ผ่านมาประเทศอินโดนีเซียกลายเป็นประเทศที่กระแสการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ไหลเข้ามากที่สุดในกลุ่ม ASEAN-4 ที่ประกอบไปด้วย ไทย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย นอกจากนี้ ท่ามกลางสถานการณ์ที่ทั่วโลกกำลังเสี่ยงที่จะเผชิญภาวะเศรษฐกิจถดถอย แต่เศรษฐกิจอินโดนีเซียยังคงเติบโตได้ในระดับสูง โดยธนาคารโลก (World Bank) คาดว่าปี 2566 ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) ของอินโดนีเซียจะเติบโต 5.3% จากปีนี้ที่คาดว่าจะเติบโต 5.1% และเริ่มมีกระแสว่าประเทศอินโดนีเซียเป็นอีกประเทศที่น่าสนใจลงทุนทั้งในระยะกลางและในระยะยาว

ธนาคารไทยแห่ลงทุน ขยายธุรกิจ
ในช่วงที่ผ่านมาจะเห็นได้ว่ามีธุรกิจสถาบันการเงินยักษ์ใหญ่ของไทยหลายราย เช่น ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกสิกรไทย และ SCBx (กลุ่มไทยพาณิชย์) รุดหน้าลงทุนและเข้าซื้อกิจการในอินโดนีเซียด้วยเม็ดเงินมหาศาล

เริ่มจากธนาคารกรุงเทพ (BBL) ที่ทุ่มเงินลงทุนกว่า 81,000 ล้านบาท เข้าซื้อกิจการ PT Permatar Tbk ในประเทศอินโดนีเซีย โดยถือหุ้นสัดส่วน 89.12% จากการทำสัญญาซื้อขายกับธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (Standard Chartered) และ PT Astra International Tbk เมื่อช่วงเดือนพฤษภาคม 2563 ซึ่งนี่ยังไม่นับรวมที่ธนาคารกรุงเทพได้ไปเปิดสาขาที่จาการ์ตามาตั้งแต่ปี 2511

ขณะที่ในปีนี้ SCBx ก็เดินหน้าลงทุนในธุรกิจการเงินดิจิทัลถึง 2 ดีล โดยช่วงต้นปี 2565 ที่ผ่านมา SCBx ได้ประกาศลงทุนเชิงกลยุทธ์ใน Akulaku ผู้ให้บริหารทางการเงินดิจิทัลชั้นนำในอินโดนีเซีย มูลค่ากว่า 3.2 พันล้านบาท

และล่าสุดยังได้ร่วมลงทุนเชิงกลยุทธ์ทางอ้อมมูลค่า 50 ล้านดอลลาร์สหรัฐในธนาคาร Jasa Jakarta (BJJ) ธนาคารพาณิชย์ในประเทศอินโดนีเซีย ผ่าน WeLab Sky Limited ซึ่งเป็นบริษัทโฮลดิ้งที่มีอำนาจควบคุมร่วมกับ PT Sedaya Multi Investama (Astra Financial) บริษัทในเครือของ PT Astra Internation Tbk (Astra)

ส่วนด้านธนาคารกสิกรไทยก็ไม่ยอมน้อยหน้าเช่นกัน ส่งบริษัทในเครืออย่าง กสิกรวิชั่น ไฟแนนเชียล จำกัด (KVF) เข้าซื้อหุ้นร่วมกันในธนาคาร PT Bank Maspion Indonesia Tbk ผู้นำด้านสินเชื่อรายย่อยในประเทศอินโดนีเซีย เพิ่มเป็นสัดส่วน 67.5% มูลค่า 7,556 ล้านบาท พร้อมแตกไลน์ลงทุนในธุรกิจบริการด้านสุขภาพทางไกล ในประเทศอินโดนีเซียอีก 1 ธุรกิจ

เหตุผลที่อินโดนีเซีย โดดเด่น น่าลงทุน แบ่งออกได้เป็นหลายประเด็นด้วยกัน ได้แก่

1. จำนวนประชากรมหาศาล นำมาซึ่งโอกาสการเติบโตของการบริโภคที่มหาศาลยิ่งกว่า โดยปัจจุบันอินโดนีเซียมีประชากรกว่า 272 ล้านคน มากเป็นอันดับ 4 ของโลก ซึ่งเป็นประชากรวัยแรงงานอายุ 20-64 ปี มากถึงกว่า 60% ของประชากรทั้งหมด และยังคงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ขณะที่รายได้ต่อหัวประชากรอยู่ที่ 4,291 ดอลลาร์สหรัฐ ต่อปี หรือคิดเป็นประมาณ 10,000 บาทต่อเดือน ยังต่ำกว่าไทยที่อยู่ในระดับ 7,233 ดอลลาร์สหรัฐ ต่อปี สะท้อนให้เห็นว่าค่าแรงยังอยู่ในระดับไม่สูงมาก ดึงดูดให้โรงงานต่างชาติเข้าไปตั้งฐานการผลิตในประเทศ ส่งผลให้โอกาสการเติบโตของรายได้ประชากรเพิ่มขึ้น หนุนให้เศรษฐกิจเติบโตตาม

2. อินโดนีเซียมีทรัพยากรธรรมชาติอย่างแร่นิกเกิล (Nickel) ที่บริษัทรถยนต์ไฟฟ้าต้องการใช้ในการผลิตแบตเตอรี่ ทำให้เห็นบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าแห่เข้าไปลงทุนในประเทศอินโดนีเซีย ไม่ว่าจะเป็นยักษ์ใหญ่จากญี่ปุ่นอย่างโตโยต้า เจ้าพ่อรถยนต์ไฟฟ้าอย่างเทสลา หรือแม้กระทั่ง CATL บริษัทผู้ผลิตแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้าสัญชาติจีนใหญ่ที่สุดในโลก

นอกจากนี้ การส่งออกทรัพยากรธรรมชาติหลักอย่างน้ำมันปาล์ม ถ่านหิน ดีบุก ยังได้อานิสงส์จากราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่ปัจจุบันอยู่ในระดับสูงอีกด้วย

3. รัฐบาลสนับสนุนสตาร์ทอัพ (start-up) ทำให้ในปัจจุบันอินโดนีเซียมีจำนวนบริษัทสตาร์ทอัพมากกว่า 2,000 บริษัท และมียูนิคอร์น (สตาร์ทอัพที่มูลค่าบริษัทเกิน 1,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) ประมาณ 8 บริษัท หลายบริษัทก็เริ่มเข้ามาทำธุรกิจในประเทศไทยแล้ว เช่น J&T Express (เจ แอนด์ ที เอ็กซ์เพรส) และ Traveloka (ทราเวลโลก้า) ซึ่งนี่ถือเป็นอีกหนึ่งอาวุธหลักของอนาคตทางเศรษฐกิจของอินโดนีเซีย