Go back to previous page
Forum URL: https://www.palm-plaza.com/cgi-bin/CCforum/board.cgi
Forum Name: ThE LoveR
Topic ID: 247848
Message ID: 4
#4, RE: ข้าราชการสังกัดกรุงเทพมหานคร กับ ข้าราชการพลเรือน แตกต่างกันยังไง แบบไหนดีกว่ากันคะ
Posted by แวะมาให้ข้อมูล on 21-Jun-23 at 05:07 PM
In response to message #3
กทม. การทำงานเป็นระบบกว่ามาก ใกล้เคียงข้าราชการพลเรือนทั่วไป ฝ่ายประจำค่อนข้างแข็งแรง มีสวัสดิการของ กทม. เพิ่มเติมอีกด้วยครับ ส่วน ขรก. ท้องถิ่นคุณต้องอยู่ภายใต้อาณัติของนักการเมืองท้องถิ่นที่เข้ามาเพื่อหาผลประโยชน์ อาจจะต้องไปพัวพันกับเรื่องทุจริต เสี่ยงคุก หรือโดนอิทธิพลมืดกดดันครับ

1. ข้าราชการท้องถิ่นต้องรับแรงกดดันจากนักการเมืองท้องถิ่น ถ้าอยู่ในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีผู้บริหารที่ดี ไม่โกง กิน ไม่เป็นผู้รับเหมาก่อสร้าง ในส่วนในประมูลต่างๆของท้องถิ่น ซะเอง ก็ดีหน่อย แรงเสียดทานน้อย ผลกระทบน้อย แต่ถ้าดวงกุดไปอยู่กับนักการเมืองท้องถิ่นแบบที่เป็นผู้รับเหมางานซะเอง งานส่วนมากจะไม่ได้ตามมาตรฐานที่กำหนดในแบบไว้ ที่เห้นข่าวอยู่บ่อยๆ ว่าทำถนนบางมาก บางจนฝนตกหน่อยถนนร่อนออกมาเป็นแผ่นๆนั่นละ ทั้งที่มาตรฐานเดียวกัน หรือนักการเมืองท้องถิ่นแบบที่เป็นข่าว อบต.ราชาเทวะ สร้างเสาไฟปฏิมากรรมต้นละเป็นแสน รวมแล้วงบประมาณ หลายร้อยล้านบาท นักการเมืองท้องถิ่นไม่ได้เป็นคนตรวจรับงานเขาได้แต่สั่งแล้วกินค่าหัวคิวกับทางบริษัทที่มารับประมูลงานไป นั่นละน่าปวดหัว

2.ข้าราชการท้องถิ่น เวลาเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลต่างๆ ถึงแม้กรมบัญชีกลางบอกใช้บัญชียาเดียวกันหมด แต่เอาเข้าจริงการที่เป็นข้าราชการพลเรือนเวลาเบิกจ่ายเป็นการเบิกจ่ายตรงกับทางกรมบัญชีกลางเลย ส่วนข้าราชการท้องถิ่น เบิกจาก สปสช. ซึ่งหมอเวลาจ่ายยาใรักษาให้ บอกเลยของข้าราชการพลเรือนดีกว่าเยอะ ถึงแม้จะป่วยโรคเดียวกันก็ตาม แต่ยาของข้าราชการท้องถิ่นจะด้อยกว่า

3.ชีวิตราชการฝากไว้กับนักการเมืองท้องถิ่น ถ้าเกิดไปขวางหูขวางตาเขาขึ้นมาเขาจะสอยเราเมื่อไหร่ก็ได้ จะกลั่นแกล้งยังไงก็แล้วแต่ความพอใจของเขา แม้คุณมีปัญหาทำงานร่วมกันไม่ได้ขึ้นมาจะขอย้ายเกิดเขาไม่ยอมเซ็นหนังสือให้ก็ย้ายไม่ได้อีก หรือยอมให้ย้าย แต่นักการเมืองท้องถิ่นเขามีพรรคมีพวกอยู่ คุณย้ายไปที่ใหม่ผู้บริหารท้องถิ่นเดิมเขาบอกพรรคพวกเขาไว้ให้เล่นงานเรา นั่นละจบเลย ย้ายหนีไปไหนก็โดนตามล้างตามเช็ดอยู่ดี อยู่ไม่เป็นสุข ส่วนข้าราชการพลเรือนถ้าเกิดขัดแย้งกันขึ้นมาถ้าเราอิงหลักการและเหตุผลทางกฏหมายเอาไว้ หัวหน้าก็เล่นงานเราได้ยาก ขอให้ทำงานที่รับผิดชอบอยู่ไม่พลาดอย่างเดียวก็พอ

4.ความก้าวหน้าในสายอาชีพ การมีโอกาสได้ประสบการณ์ใหม่ที่หลากหลายเพื่อมาพัฒนาตนเองของข้าราชการพลเรือนสูงกว่าามาก แถมมีโอกาสย้ายไปหน่วยงานไหนก็ได้อีก หรือมีโอกาศได้พบปะกับคนที่หลากหลายประเภทมากกว่า แต่กับข้าราชการท้องถิ่น ต่อให้ย้ายสถานที่ทำงาน แต่งานมันมีลักษณะเดียวกันหมด แตกต่างกันบ้างเล็กน้อยตามขนาดขององค์กร แต่ถ้างานหลักๆมันมีเนื้องานแบบเดียวกันหมด ทำตามคำสั่งจากอำเภอ จังหวัด กรมหรือหน่วยงานอื่นๆที่โยนภาระหน้าที่มาให้กับท้องถิ่นดูแลแบบมึนๆ

5. ศักดิ์ศรีในมุมมองที่ต่างกัน ถามว่าคุณทำงานต่อให้เป็นเทศบาลนครก็ตาม มีเงินเดือน 4-5 หมื่นด้วย(กรณีปลัด อปท.) แต่ถ้าถามว่าถ้ามองกลับไปแค่ระดับอำเภอปลัดอำเภอเก็กๆ ยังต้องกลัวปลัดอำเภอที่เงินเดือนแค่ 2-3 หมื่นนิดๆ เจอหน้าต้องพินอบพิเทา เพราะถ้าทำแข็งกระด้างพอประสานงานไปยังอำเภอ คนอำเภอแกล้งเตะถ่วงงาน ไม่รีบดำเนินการให้ เซ็นเอกสารส่งให้ช้าๆ คุณก็ทำไรไม่ได้เขาอ้างว่าภาระงานในหน้าที่เขาเยอะจนอ่านเอกสารไม่ทัน เลยส่งเรื่องไปช้า ทำให้งานที่คุณเสนอไปตกหรือส่งต่อไปจังหวัดไม่ทันก็โดนทางจังหวัดหมายหัวไว้ว่าอปท. คุณเนี่ยไม่ยอมทำงาน ยิ่งไม่ต้องบอกว่าถ้าคุณทำงานในกรมถ้าได้มีโอกาศขึ้นบรรยายให้ความรู้เรื่องใดก็ตามให้กับคนท้องถิ่นได้ฟัง ต่อให้คุณเป็นข้าราชการบรรจุใหม่เงินเดือนแค่ 15000 บาท ปลัด อปท. ต้องมาหา ต้องเรียกคุณว่าอาจารย์ทันที ผมเห็นมาเยอะแล้วเป็นแบบนี้ทั้งนั้น ยิ่งถ้าได้ขึ้นให้ความรู้ในเวทีระดับจังหวัดนี่บอกเลย คุณจะเห็นปลัด อายุเยอะๆ ตาม อปท. ต่างโทรหาคุณด้วยความนอบน้อมเพราะมีเรื่องงานมาปรึกาาตลอดเวลา จนขี้เกียจจะรับโทรศัพท์กันเลย