จริงๆ แล้วทุเรียน มันเป็นผลไม้ที่มีจุดกำเนิดออริจินัล อยู่ ที่ มาเล, อินโด แล้วก็มีบางพื้นที่บริเวณภาคใต้ของไทย เดิมเริ่มแรกวัฒนธรรมการกินทุเรียน ของคนในละแวกนี้ เขาจะทานกันแบบเป็นปลาร้า คือต้องสุกจัด เละๆหน่อย กลิ่นต้องแรง แบบนั้นจึงจะเรียกว่าอร่อย วันหนึ่ง คนไทยก็เอาทุเรียน จากทางใต้ขึ้นมาปลูก แล้วเอามาพัฒนาพันธุ์มันเรื่อยๆ จนสำเร็จ สามารถเอาปลูกทางภาคตะวันออก และนนทบุรีได้ แล้วไทยก็พัฒนาสายพันธุ์ไปเรื่อยๆ จนเราสามารถพัฒนาจนเป็นเอกลักษณ์ของไทยเองได้ คือไม่ขม เนื้อมีความครีมมี่ และไม่เละเร็ว
ก่อนหน้านี้ คนจีนมันก็ชอบกินเหม็นๆ ปลาร้าๆ แบบการกินดั้งเดิมนั้นแหละ แต่พอมาเจอทุเรียนไทยเจ็นใหม่ๆ คนจีนก็เปิดโลก กลายเป็นติดทุเรียนไทยแทน ไม่ใช่แค่คนจีน ฝรั่งได้ลองมากินทุเรียนสายพันธุ์ไทยที่พัฒนาขึ้นใหม่ในยุคหลังๆ ที่กลิ่นไม่เหม็นมาก ไม่ขม เนื้อครีมมี่ เขาก็ชอบกันมากขึ้น ลบภาพจำเดิมๆ ไปได้เยอะ
หากถามว่า การที่เวียดนามจะลงมาเล่นในตลาดทุเรียนแข่งกับไทย เวียดนามจะมีวันทำทุเรียนให้อร่อยถูกปากคนจีนและฝรั่งได้เหมือนไทยไหม? อันนี้กล้าพูดล้านเปอร์เซ็นว่า มีโอกาสทำได้แน่นอน แต่ไม่รู้ว่าเมื่อไร เพราะมันไม่ง่าย ข้อแรกเลย ทุเรียนไม่ใช่ผลไม้พื้นถิ่นของเวียดนาม ดิน แร่ธาตุและภูมิอากาศเวียดนาม มันไม่เหมือนไทย แค่คล้ายก็ยากแล้ว
เพราะพืชพรรณมันอ่อยไหว พวกนี้มันคือวิทยาศาสตร์ทั้งหมด เวียดนามต้องพัฒนา ทำR&D มาอย่างมากมาย และยาวนานแบบไทย นอกซะจากนักวิทยาศาสตร์การเกษตรของเวียดนามเก่งจริง แบบอิสราเอล ที่ทำ oasis กลางทะเลทราย อีอิสราเอล ทำ R&D ปลูกสตอเบอร์รี่ ลูกโตๆ รสชาติหวาน-เปรี้ยว เข้มข้น ได้กลางทะเลทราย มันพิสูจน์มาแล้วว่าเก่งวิทยศาสตร์ก็ชนะได้ทุกอย่าง แต่นั้นก็รวมถึงต้นทุนที่สูงมาก สตอเบอร์รี่คุณภาพกลางทะเลทรายไม่สามารถทำราคาสู่สตอเบอร์รี่ประเทศไหนได้ เลยส่งออกไม่รอด สู้ราคาไม่ได้ เหมาะแก่การผลิตกินในประเทศเท่านั้น
แม้มันเป็นเรื่องที่ไม่ง่าย แต่มันเกิดขึ้นได้ คนไทยเองก็ไม่ควรประมาทจ๊ะ